วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

* อุทยานแห่งชาติเขาค้อ

อุทยานแห่ง ชาติเขาค้อ เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจจัดตั้งใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 304,521 ไร่

บริเวณพื้นที่ป่าที่จะประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ เดิมเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น จากดำริของผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและผู้อำนวยการส่วน อุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 (การประชุมสัมมนาหัวหน้าวนอุทยาน) ให้หัวหน้าวนอุทยาน สำรวจสภาพพื้นที่โดยรอบมีศักยภาพและความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่ง ชาติ โดยมีนายชลธร ชำนาญคิด นักวิชาการป่าไม้ 7 ว ส่วนอุทยานแห่งชาติเป็นผู้สำรวจข้อมูลเบื้องต้น

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544 ส่วนอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้สั่งนายเผชิญโชค เสนากาญจน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สำรวจสภาพและควบคุมพื้นที่ป่าบริเวณที่กรมประชาสงเคราะห์ส่งมอบคืน ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู รวม 3 แห่ง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำสำคัญ 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำยม-น่าน ท้องที่ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลท่าพลและตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลแค็มป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลริมสีม่วง ตำบลเขาค้อ ตำบลสะเดาะพง และตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ เกาะ แก่ง หน้าผา จุดชมทิวทัศน์ แหล่งประวัติศาสตร์ของสมรภูมิการสู้รบ ระหว่างรัฐบาลกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นเวลายาวนานจึงสงบ ปัจจุบันได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ผู้เสียสละจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการ สู้รบในสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อหมู่บ้าน/สะพานจะใช้ชื่อ/นามสกุล เป็นอนุสาวรีย์แก่ผู้เสียสละชีวิตหลายท่าน พระตำหนักเขาค้อที่สวยงาม สร้างไว้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเสด็จที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ เป็นที่ประทับแรม ฯลฯ

ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไปแล้ว


ลักษณะภูมิประเทศ

มี ลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะ เป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา


ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะ ภูมิอากาศที่ทำการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน จากการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ ตั้งอยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ ที่ 33 หมู่ 11 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ UTM 276434 ซึ่งเริ่มเก็บสถิติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากการที่พื้นที่อยู่ในที่สูง จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อีกทั้งปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้าง โดยแบ่งให้เห็นชัดเจนดังนี้

ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวันฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี


พืชพรรณและสัตว์ป่า

ป่าไม้ ของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก (ส่วนใหญ่เป็นป่าปลูกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่) ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ (ประเภทที่ไม่มีไม้สัก) ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาง สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เต็ง รัง ตะเคียนทอง สนเขา ก่อ สมุนไพร กล้วยไม้ป่าต่างๆ ฯลฯ

สภาพป่าดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย/แหล่งอาหาร/ที่หลบภัยของสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เสือไฟ หมูป่า กระจง เม่น กระต่ายป่า ค่าง อีเห็น ตะกวด ไก่ป่า ลิงลมหรือนางอาย งูชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนกชนิดต่างๆ อีกกว่า 100 ชนิด และความหลากหลายของผีเสื้อ >

1 ความคิดเห็น: